Friday, October 31, 2008

เป็นการติดต่อสื่อสารเบื้องต้นทางระบบเครือข่ายอินเตอร์เนตที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในยุคปัจจุบัน เนื่องจากมีความสะดวก รวดเร็ว และง่ายต่อการเข้าถึง โดยเฉพาะในยุคที่มีการแข่งขันการให้บริการของบรรดาบริษัทอีเมล์(Email Providers) ต่างๆ เช่น asiamail.com, gmail.com, go.com, goovy.com, hotmail.com, hushmail.com, inbox.com,joinme.com, lycos.com, mail.com, และ yahoo.com ผู้สอนสามารถจัดกิจกรรมการสอนด้วยอีเมล์โดยการส่งสิ่งที่แนบ(Attachment) เช่น ใบความรู้ ใบงาน แบบฝึกหัด รูปภาพ หรือไฟล์เสียง มิฉะนั้น ก็อาจตั้งคำถามขึ้น ส่งอีเมล์ไปให้ผู้เรียน แล้วให้ผู้เรียนตอบแสดงความคิดเห็น

Hotmail ในบรรดาอีเมล์ทั้งหลายที่กล่าวมานั้น hotmail.com จัดว่าเป็นเมล์หนึ่งที่คนไทยนิยมใช้กันมากที่สุด จากประสบการณ์ของผู้เขียนที่เริ่มใช้อีเมล์นี้เมื่อต้นปี 2540 พบว่ามี Email Providers เพียงภาคภาษาอังกฤษเท่านั้น ในปัจจุบันนี้ มีการให้บริการแก่ผู้ใช้ทั่วโลกในหลายประเทศ หลายทวีป และหลายภาษา เช่น ภาษาสเปน ภาษาอะราบิค ภาษาฝรั่งเศส ภาษาเยอรมัน ภาษาอิตาเลียน ภาษารัสเซียน ภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น ภาษาเกาหลี รวมทั้งภาษาไทย การสอนผู้เรียนวิทยาลัยชุมชนให้ลงทะเบียนเข้าใช้อีเมล์นั้น มีผลลัพท์การเรียนรู้ข้อแรกคือ เพื่อให้ผู้เรียนเขียนกรอกข้อมูลส่วนตัวเป็นภาษาอังกฤษได้อย่างถูกต้อง จึงจำเป็นต้องเรียนรู้เทคนิคบางประการที่ทำให้สามารถเข้าใช้ Email Providers ภาษาอังกฤษได้ตามต้องการ เพราะการลงทะเบียนอีเมล์ที่เป็นภาษาไทยจะไม่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้เลย ขอแนะนำขั้นตอนตามลำดับ ดังนี้ อันดับแรก ให้สืบค้นด้วยคำว่า MSN แล้วเข้าไปยังเวปไซต์ MSN.com

หากเข้าไปพบหน้าเวป Email Providers ภาคภาษาอังกฤษโดยตรงก็นับว่าโชคดี คลิกเลือก Hotmail และตามด้วย Sign up ได้เลย

ลำดับต่อมา ต้องเลือกตอบปฏิเสธว่า ไม่เคยมีอีเมล์มาก่อน แบบฟอร์มลงทะเบียนที่ตามมาจึงจะเป็นการฝึกทักษะอ่าน-เขียนและกรอกข้อมูลภาษาอังกฤษตามต้องการ

จะเห็นว่าชื่อประเทศที่ปรากฎอยู่บนบรรทัดแรกนั้นสามารถเลือกเปลี่ยนได้ แต่หากเลือก Thailand ตามความเป็นจริงเมื่อใด โอกาสที่จะได้ใช้ภาษาอังกฤษก็จะหมดไปเมื่อนั้น เพราะภาษาจะถูกเปลี่ยนเป็นภาษาไทยอย่างอัตโนมัติทันที ดังนั้นจึงให้คง United Statesไว้เหมือนเดิมและเตรียมเลือกชื่อรัฐ(State) และรหัสไปรษณีย์(ZIP code)ไว้ใช้ด้วย ซึ่งสามารถทำได้โดยง่ายด้วยการใช้ Google สืบค้นด้วยชื่อรัฐนั้นๆ นั่นเอง เช่น “New York, zip code”

ข้อสังเกตบางประการเกี่ยวกับการเลือกใช้ username และ password

username คือส่วนต้นของอีเมล์ที่จะมีใช้ ควรเป็นคำที่มาจากชื่อและสกุลของผู้สมัครเอง โดยอาจนำมาเขียนติดกันทั้งหมด หรือเขียนแบบย่อ หรือเขียนแบบตัดต่อตามที่เห็นสมควร เช่น weenakan, weenakanadpon, wkanadpon เพราะว่าเมื่อส่งอีเมล์ออกไป ผู้รับจะรู้ได้ทันทีว่าเป็นเมล์ที่มาจากใคร แต่หากเป็น username ที่ไม่รู้จักเช่น lovelywoman, justaguy, happygirl ก็อาจ ถูกกำจัดทิ้งไปโดยไม่เปิดอ่านเลยก็เป็นได้

password คือรหัสลับที่ใช้ในการผ่านเข้าอีเมล์หรือเวปไซต์ใดๆ ควรเป็นคำศัพท์ภาษาอังกฤษคำใดคำหนึ่งซึ่งมีตัวสะกด 8-10 คำและเป็นคำที่ไม่นิยมใช้ของคนทั่วไป ให้เขียนตัวสะกดผสมกันระหว่างตัวอักษรพิมพ์เล็กและพิมพ์ใหญ่ เช่น mIcRosoFt, doCumEnT, sTrAnGeR ซึ่งผู้ใช้จะต้องจำ password ของตนเองให้แม่นยำ สามารถนำไปใช้กับการเข้าใช้(access)ทุกเวปที่ต้องการ password หากมีการเปลี่ยน password ทุกครั้งที่ลงทะเบียนเข้าเวปไซต์ใดๆ ผู้ใช้อาจจำไม่ได้เองว่า password ตัวใดที่เคยใช้กับเวปไซต์นั้นๆ

เมื่อเติมข้อมูลทุกอย่างเรียบร้อยแล้ว แต่การลงทะเบียนเข้าใช้ยังไม่ผ่าน อาจจะต้องทำซ้ำๆ เช่นนั้นอีก 1-3 ครั้ง

ในกรณีที่เข้าไปพบหน้าเวป Email Providers ภาคภาษาไทยหรือภาษาอื่น ให้สังเกต “Back to MSN U.S.” ที่มุมบนซ้ายมือ แล้วคลิกเข้าใช้

ต่อมา เป็นขั้นตอนของการตรวจรับเมล์ (Check Mail) เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการนี้ ขอแนะนำให้ติดตั้งโปรแกรมWindows Live Messenger ซึ่งสามารถดาวน์โหลดมาได้ฟรีๆ จากหน้าหลักของ MSN นั่นเอง

หากต้องการแสดงชื่อ-ที่อยู่ในอีเมล์ที่ส่งออก ทำได้โดยเลือก Options ทางมุมบนขวามือ แล้วดูในกลุ่ม Customize your mail เลือก Personal e-mail signature เมื่อเขียนหรือแก้ไขชื่อ-ที่อยู่เสร็จ ต้องคลิก Save ด้วยเสมอ

นอกจากนี้ Yahoo และ Gmail ก็เป็นอีก 2 Email Providers ที่นิยมใช้กันมากในประเทศไทย หากต้องการสร้างอีเมล์ด้วย providers นี้ สามารถทำได้ในลักษณะเดียวกันกับที่แนะนำไว้ข้างต้น

อนึ่ง ผู้เรียนจำเป็นต้องรู้มารยาทในการสื่อสารด้วยอีเมล์บางประการ เช่น การใช้คำพูดหรือประโยคสั้นๆ ที่เข้าใจง่าย การใช้คำระบุหัวเรื่องอีเมล์(Subject) มารยาทในการตอบกลับ(Reply) และขณะเดียวกัน ควรจะรู้วิธีการรับส่งสิ่งที่แนบ(Attachment) เช่น รูปภาพหรือไฟล์เอกสาร การบันทึกที่อยู่อีเมล์(Email Address) และการจัดกลุ่มของผู้ที่ติดต่อด้วย(Contact Group) เพื่อความสะดวกในการส่งอีเมล์ครั้งละหลายๆ คน เป็นต้น

No comments: